บริษัท ยู พี เรซิ่น จำกัด เลขที่ 265/253-260 ซอยสาธุประดิษฐ์ 15 (ทวีวัฒนา) แขวง ช่องนนทรี

เริ่มโดย admin, สิงหาคม 16, 2013, 10:22:22 AM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

admin

กรอบรูปวิทยาศาสตย์


การเคลือบกรอบรูปวิทยาศาสตร์
เป็นการนำรูปภาพมาปะบนกรอบไม้  โดยทากาวให้สม่ำเสมอแผ่นหลังของภาพ  ถ้าต้องการให้ภาพสวยงามขึ้น 
ก็ตกแต่งด้วยริ้วสีทอง  (เป็นเส้นเชือกเล็กๆ แผ่นบางๆ สีทอง)  มาปะขอบของภาพอีกทีหนึ่ง  หลังจากนั้นสามารถนำภาพ
ดังกล่าวมาเคลือบด้วยน้ำยาเคลือบ
สูตรน้ำยาเคลือบ
-   น้ำยาเรซิน 909 (ตัวเคลือบเงา)
-   ฮาดเดนเนอร์  (ตัวเร่ง)
-   อาร์  ซี  ที  ใช้สำหรับเช็ดมือและเช็ดฟิล์ม
-   ฟิล์มโมล่า
**ทุกอย่างหาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ทั่วๆไป
ภาพขนาด     11"X12"    ใช้เรซิน  909        1     ถ้วยน้ำดื่ม        ฮาดเดนเนอร์    20-25  หยด
ภาพขนาด     10"X12"    ใช้เรซิน  909      3/4     ถ้วยน้ำดื่ม       ฮาดเดนเนอร์    17-18  หยด
ภาพขนาด       8"X10"     ใช้เรซิน  909      1/2     ถ้วยน้ำดื่ม       ฮาดเดนเนอร์    13-15  หยด
ภาพขนาด       5"X7"      ใช้เรซิน  909      1/4     ถ้วยน้ำดื่ม       ฮาดเดนเนอร์    10-12  หยด
ภาพขนาด       3"X5"      ใช้เรซิน  909      1/8     ถ้วยน้ำดื่ม      ฮาดเดนเนอร์      6      หยด

หรือหากจะใช้เรซินเคลือบรูป เบอร์ 288w อัตราส่วนผสมดังนี้
**ส่วนผสมตัวทำแข็ง (ฮาร์ดเดนเนอร์) ใช้สูตร 100:1 ของน้ำหนักเรซินโดยประมาณหรือเท่ากับ 1%
รูป       3 x 5"    ใช้เรซิน            25  ซีซี  ผสมตัวทำแข็ง  5 - 7  หยด
"  5 x 7"     "    40    "    "  9 - 10  "
"  8 x 10"    "    70     "    "  12 - 14 "
"  10 x 12"   "    100    "    "  18 - 20 "
"  11 x 14"   "    130    "    "  22 - 25 "

เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์
? รูปต้นฉบับที่จะเคลือบ
? ไม้อัดทำกรอบรูป  MDF. เป็นไม้หนา 9 10 มม. ขนาดแล้วแต่ขนาดของภาพที่จะทำ  แต่ต้องเผื่อขอบไว้  1-1/2
        นิ้ว กะประมาณให้ดูสวยตามขนาดของภาพ
? กระดาษลวดลายต่างๆ ใช้สำหรับตกแต่งเพื่อความสวยงาม
? เส้นทองหรือเส้นเงิน เป็นเส้นสติ๊กเกอร์สีสำหรับเดินปิดระหว่างรอยต่อของภาพหรือติดขอบรูปเพื่อความสวยงาม ขนาด 2 ? 4 มม.   
? มุมลายกนก เบอร์ 1 ? 4
? กากเพชรสีเงินหรือสีทอง
? น้ำยากันซึม ใช้กรณีที่นำภาพที่เป็นกระดาษที่น้ำยาเรซิ่นอาจซึมเข้าเนื้อกระดาษได้เช่น กระดาษจากหนังสือ
        กรอบไม้สำหรับขึงฟิล์ม  ทำจากไม้ 1 นิ้ว คูณ 1 นิ้ว ใช้สำหรับขึงแผ่นฟิลม์ไมล่าให้ตึงเพื่อใช้กดนาบลงบนภาพ
        ใช้ตามความเหมาะสมของขนาดภาพ ในที่นี้เราใช้ขนาด 40 คูณ 50 เซนติเมตร


? ฟิล์มไมล่า หรือ โพลีเอสเตอร์ฟิล์ม เป็นแผ่นฟิลม์บาง ใช้กดนาบบนเรซิ่นที่เราเทลงบนภาพเพื่อให้ผิวหน้าเรียบเท่าๆกัน
        มีชนิดเงาและด้าน หนา 70 ? 180 ไมครอน
? กระดาษกาวย่นขนาด 10 ? 50 มม. ( 2 นิ้ว )
? น้ำยาเรซิ่นเคลือบรูปหรือที่เรียกว่าโพลีเอสเตอร์เรซิ่น ( Polyester Resin ) 
        เป็นเรซิ่นสำหรับงานเคลือบรูปวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ เป็นพลาสติกเหนียว ข้น มีกลิ่นฉุน เมื่อใส่ตัวทำแข็งเข้า
       ไปจะจะทำปฏิกริยาเป็นพลาสติกแข็ง ใช้เบอร์ Kc-288   
? ตัวเร่ง หรือ ตัวทำให้แข็งหรือเรียกว่าฮาร์ดเดนเนอร์( Hardener ) หรือฮาร์ด  จะผสมลงในเรซิ่นเพียง 1%
        เท่านั้น มีหน้าที่ทำปฏิกริยากับเรซิ่นทำให้เรซิ่นแข็งตัว 
? อะซีโทน ( Acetone )
? ภาชนะผสมเรซิ่น หรืออาจจะใช้ถ้วยพลาสติกสำหรับใส่เรซิ่น พร้อมไม้กวน หรือใช้ไม้ไอศครีมหรือไม้อะไรก็ได้
? ไม้บรรทัดสั้น หรือลูกกลิ้งยาง ใช้ขนาด 3 ? 8 นิ้ว ใช้สำหรับกลิ้งรีดน้ำยาเรซิ่นให้กระจายทั่วทั้งภาพ
? กระดาษทรายหยาบพันไม้ และกระดาษทรายชนิดละเอียดเบอร์ 300 พันไม้
? สติกเกอร์ พีวีซี
? หูแขวน ขาตั้ง และน็อตยึด
ไขควง 4 แฉก
? ฟุตเหล็ก หรือไม้บรรทัดโลหะ
? มีดคัตเตอร์ปลายแหลม
? กาวลาเท็กซ์ พร้อมแปรงทากาว
? กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า พร้อมกระดาษทิชชู
? วัสดุรองเคลือบ
? แลคเกอร์เงา
วิธีเคลือบ
1.นำรูปที่จะเคลือบมาทาบลงบนแผ่นไม้ วัดให้อยู่ระหว่างกึ่งกลางรูป โดยให้ห่างจากปีกไม้ทั้งสี่ด้านเท่า ๆ กัน ทำเครื่องหมายที่มุมรูปทั้ง 4 มุม
      ไว้ หยิบรูปขึ้นมาทากาวลาเท็กซ์จนทั่วแล้วปิดทับลงไปบนแผ่นไม้ที่ทำเครื่องหมายไว้แล้ว
2.นำเส้นทองติดที่ด้านข้างของรูปทั้งสี่ด้าน โดยให้ติดทั้งสี่ด้านยาวเกินกว่ารูปเล็กน้อย เมื่อตัดเส้นทองเรียบร้อยแล้วจะเห็นว่ามุมของรูป
        ทั้งสี่มุมเส้นทองจะทาบตัดกันเป็นมุมฉาก นำคัตเตอร์ตัดเฉียง 45 องศา บนมุมของเส้นทอง เมื่อตัดเสร็จแล้วทั้งสี่มุม ดึงเศษของเส้น
        ทองส่วนที่เกินความยาวของรูปออก จะได้เส้นทองตัดรอบขอบรูปพอดี
3.เตรียมกระดาษหนังสือพิมพ์เก่าตัดให้กว้างยาวเท่าแผ่นไม้ เอาสก๊อตเทปติดที่ขอบด้านความหนาของแผ่นไม้โดยให้ริมของเทปกาวพอดีกับ
        ด้านที่ต้องการเคลือบ และส่วนที่เหลือของ สก๊อตเทปติดลงบนกระดาษหนังสือพิมพ์ด้านหลังของแผ่นไม้ที่ต้องการเคลือบ
4.ใช้ทินเนอร์หรืออาซีโตนเช็ดทำความสะอาด บนผิวหน้ารูปที่จะเคลือบ แต่ต้องระวังอย่างยิ่งไม่ให้ทินเนอร์ถูกกระดาษลายที่กรอบรูป เพราะจะทำให้ลายหลุดได้
5.นำเรซิ่นใส่ภาชนะสำหรับผสม โดยกำหนดเรซิ่นประมาณ 0.7 ซีซี ต่อพื้นที่ 1 ตารางนิ้ว หยดตัวทำให้แข็ง MEKP ลงไปประมาณ 1 ? 2 %
        ของเรซิ่นที่ใช้ กวนให้เข้ากันอย่างช้า ๆ จนทั่วและให้เข้ากันดี อย่ากวนเร็วและแรงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศมากจะทำให้มีปัญหาขณะ
        รีดและไล่ฟองอากาศ เรซิ่นเมื่อผสมกับตัวทำให้แข็ง MEKP แล้วจะแข็งตัวภายใน 5 นาที ฉะนั้นเวลากวนเรซิ่น ควรกวนอย่างช้า ใช้เวลาสัก 1 นาที
        หรือใช้ไม้กวนในภาชนะสัก 50 ? 60 รอบ โดยไม่ต้องรีบเกินไป เพราะบ่อยครั้งที่มักจะเกิดปัญหาในการเคลือบไม่ดีในขั้นตอนนี้
6.เมื่อผสมเรซิ่นเข้ากันดีแล้ว เทลงบริเวณกลางรูป จากนั้นนำโครงฟิล์มที่ขึงฟิล์มเรียบร้อยแล้วมาปิดทับบนเรซิ่น ใช้ลูกกลิ้ง ( หรือไม้บรรทัด )
        รีดไปบนฟิล์ม แบ่งครึ่งเรซิ่นที่เทไว้โดยรีดจากซ้ายไปขวา หรือด้านบนไปด้านล่างก็ได้ ตามความถนัดจนทั่วแผ่นไม้ ขณะรีดลูกกลิ้งใช้น้ำหนักกดลูกกลิ้งพอประมาณ
        เพียงไล่ฟองอากาศออกจากรูปได้ก็พอ เพราะหากใช้น้ำหนักกดลูกกลิ้งมากเกินไป เมื่อรีดเสร็จจนเรซิ่นทั่วแผ่นไม้จะทำให้เรซิ่นออกมากเกินไปด้วย เมื่อเคลือบเสร็จ
        แล้วจะทำให้ผิวหน้ารูปที่เคลือบเรซิ่นบางเกินไป ขาดความสวยงาม จากนั้นสังเกตดูว่ามีฟองอากาศหรือไม่ และผิวหน้าที่เคลือบเรียบหรือเป็นคลื่นหรือไม่ ในขั้นตอนนี้
        ใช้เวลาสัก 2 นาที เพราะหากครบประมาณ 5 นาที เรซิ่นจะเริ่มเป็นวุ้นและแข็งตัว ปล่อยทิ้งไว้ให้แข็งตัว ไม่ต่ำกว่า 30 นาที
7.เมื่อเรซิ่นแข็งตัวดีแล้ว ใช้ปลายนิ้วดันฟิล์มที่มุมกรอบรูปแผ่นฟิล์มออกจากกรอบรูป
8.ใช้กระดาษทรายอย่างละเอียดขัดบริเวณผิวหน้ากรอบรูปด้านลายไม้จนทั่วโดยเฉพาะส่วนริมสุดของขอบไม้ให้เป็นรอยหยาบ จะสังเกตได้ว่าเป็นฝ้าขาว ๆ เกิดขึ้น
         และไม่ควรขัดกระดาษทรายบนเรซิ่นตรงผิวรูป เนื่องจากเรซิ่นส่วนที่เคลือบผิวรูปค่อนข้างจะบาง การขัดกระดาษทรายส่วนนี้จะทำให้ผิวหน้าถลอกไปถึงรูปได้
         การขัดกระดาษทรายในขั้นตอนนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะจะทำให้เรซิ่นที่เคลือบในชั้นที่สอง เกาะติดเรซิ่นที่เคลือบในชั้นแรกได้
9.ผสมเรซิ่นเคลือบทับอีกชั้นตามขั้นตอนที่ 5 ? 6 แต่ให้ระมัดระวังการวางฟิล์ม ต้องให้ทาบในตำแหน่งเดิมที่เคลือบในชั้นแรก หลังจากนั้นจึงปล่อยไว้ให้แข็ง
        ตัวนานเกินกว่า 1 ชั่วโมง จึงจะลอกฟิล์มออกได้ หากลอกฟิล์มออกก่อนเวลาจะทำให้ผิวหน้าที่เคลือบเรซิ่นไม่เป็นมันเงา จะทำให้ผิวหน้าเรซิ่นด้านหรือเป็นฝ้า
10.เมื่อลอกฟิล์มออกแล้วให้แกะเทปกาวที่ปิดด้านข้างความหนาของแผ่นไม้ออก ขัดแต่งให้ตรงและเรียบโดยใช้เครื่องขัดกระดาษทราย ถ้ากรณีไม่มีเครื่องขัด
            ให้ใช้ไม้พันกระดาษทรายหยาบที่เตรียมไว้ขัดจนเรียบ ( หากมีเครื่องเว้าร่องก็สามารถเว้าร่องทั้งสี่ด้านและทาสี )
11.นำสติกเกอร์ พีวีซี มาลอกกระดาษที่ปิดทับด้านกาวออก ติดสติกเกอร์ พีวีซีลงบนด้านข้างความหนาของแผ่นไม้โดยควรจะเริ่มต้นที่มุมด้านล่างของตัวกรอบ
            ปิดทาบสติกเกอร์ จนรอบตัวกรอบจากนั้นใช้นิ้วกดรูดสติกเกอร์ให้ทั่ว เพื่อให้แน่นไม่เผยอออกภายหลัง แล้วใช้มีดคัตเตอร์กรีดสติกเกอร์ พีวีซี
            ส่วนเกินความหนาตัวกรอบออก
12.หลังจากนั้นนำกรอบรูปมาติดขาตั้งและหูแขวนด้านหลังกรอบรูป การติดหูแขวนและขาตั้งกำหนดกึ่งกลางกรอบรูป และขาตั้งเมื่อติดแล้วควรกางขา
             และตั้งได้พอดีกับความสวยงาม จากนั้นใช้กระดาษทิชชูจุ่มทินเนอร์เช็ดทำความสะอาดด้านหน้ากรอบให้สะอาด จะได้กรอบรูปที่สวยงามตามต้องการ


ข้อควรระวัง
?เมื่อเรซิ่นเข้าตาควรพบแพทย์โดยด่วน หากเรซิ่นถูกส่วนอื่นของร่างกายควรเช็ดถู ทำความสะอาดด้วยอะซีโตน
( หาซื้อยากและราคาแพงกว่าทินเนอร์ )อาจใช้ทินเนอร์ เช็ดถูออกได้ แต่จะแสบร้อนนิดหน่อย
?เมื่อตัวทำให้แข็ง MEKP เข้าตา ต้องรีบล้างน้ำโดยด่วน และใช้ยาล้างตาล้างอีกครั้ง
?เมื่อเรซิ่นผสมกับตัวทำให้แข็งในปริมาณที่มากๆ หลายกิโลกรัมขึ้นไป จะทำให้มี กลิ่นฉุน และเกิดความร้อนสูงอาจทำให้เกิดอันตรายได้
?ฟิล์ที่ใช้เคลือบรูปต้องระมัดระวังอย่าให้ด้านที่ใช้เคลือบเรซิ่นเป็นรอยขีดข่วน หรือมี รอยบุบเพราะจะทำให้ผิวหน้าที่เคลือบเป็นรอยตามฟิล์มไปด้วย
?เรซิ่นไม่ควรเก็บไว้ในที่ร้อนหรือถูกแดดเป็นเวลานานติดต่อกัน และไม่ควรเปิดฝา
?ภาชนะทิ้งไว้เป็นวลานานเป็นเดือน เพราะจะทำให้แข็งตัวและเสื่อม เรซิ่นที่เก็บรักษาดีแล้ว จะมีอายุใช้งานไม่เกิน 4 ? 6 เดือน
?เรซิ่นมีหลายชนิด การใช้งานย่อมต่างกัน หากใช้ผิดชนิดจะทำให้งานเสียหายได้
?การเคลือบรูปนอกเหนือจากรูปถ่ายสีต้องระมัดระวัง พิจารณาก่อนเคลือบ เช่น กระดาษทั่วไปที่เปียกน้ำได้จะเคลือบเรซิ่นด้วยวิธีปกติไม่ได้ ต้องทำ
    ให้กระดาษป้องกันการเปียกซึมได้ก่อนโดยนำไปเคลือบพลาสติก ( คล้ายบัตรประชาชน ) หรือทาน้ำยา กันซึมโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้กาวน้ำทาจนทั่ว
     เมื่อแห้งดีแล้วจึงจะเคลือบเรซิ่น การเคลือบรูปขาวดำที่ยังไม่เก่า มักจะเกิดรูปเคลือบด่างเป็นดวงเป็นแถบ สาเหตุ เพราะตัวทำให้แข็ง MEKP
     ทำปฏิกิริยากับน้ำยาไฮโป ที่ใช้ล้างรูปขาวดำ ฉะนั้นควร เคลือบพลาสติก หรือทาน้ำยากันซึมก่อน เคลือบเรซิ่น


หมายเหตุ
การเคลื่อบน้ำยาครั้งที่ 1
ตัวอย่าง รูปขนาด 3 x 5" ใช้น้ำยาเรซินประมาณ 20-25 กรัม (ใช้ถ้วยน้ำชาสีแดง ตวง 1ถ้วย)
1.ใช้น้ำยาเรซินประมาณ 25 กรัม แล้วผสมตัวแข็งลงไปประมาณ 1% หรือใช้หลอดหยด ประมาณ 5-7 หยด
         ต่อ 25 กรัมแล้วรีบกวนให้เข้ากัน (ประมาณ 1นาที) เทน้ำยาเรซิ่นลงกลางรูป
2.กรอบรูปให้เอากระดาษกาวย่นติดรอบๆเพื่อกันน้ำยาเรซินใหลติดทำให้ทำความสะอาดรอบกรอบง่าย นำแผ่นฟิล์มไมล่าที่ขึงเฟรมกรอบ
       ไม้วางทาบทับไปที่น้ำยาเรซิน แล้วใช้ลูกกลิ้งยาง กลิ้งบนฟิล์มให้น้ำยาที่อยู่ใต้ฟิล์มวิ่งจากกลางรูปออกขอบทั้ง 4ด้าน ไปทั่วรูปจนไม่มีฟองอากาศ
        ออกแรงกดพอสมควรเพื่อไล่ฟองอากาศออกให้หมด ใช้เวลากลิ้งไม่ควรเกิน 5 นาที (น้ำยาจะจับตัวเป็นวุ้น)เสร็จแล้วทิ้งน้ำยาแห้วสนิท
        ประมาณ 2-3 ชม. จึงแกะแผ่นฟิล์มออก

การเคลือบน้ำยาครั้งที่2
1.เมื่อเคลือบน้ำยาครั้งที่ 1 แห้งสนิทแล้วจะเคลือบทับให้หนาอีกกี่ครั้งก็ตาม จะต้องนำกระดาษทรายน้ำเบอร์ 150
        ขัดให้ผิวเรซินหยาบๆเสียก่อน (ส่วนที่ขัดจะมัวไม่ต้องตกใจเมื่อเคลือบซ้ำจะเงาเอง
2.ให้ทำขั้นตอนเหมือนการเคลือบครั้งที่1 ทุกอย่างผลการเคลือบครั้งที่2 นี้จะทำให้ผิวเรซินเรียบ ไม่สะดุดความหนาของรูปหรือเส้นทองที่ติดไว้
3.การขัดแต่งจะทำหลังจากเคลือบเรซินครั้งที่2 แห้งสนิทแล้ว ก่อนอื่นต้องนำกระดาษแข็งหรือกระดาษสมุดปิดบริเวณภาพที่เคลือบแล้ว เพื่อไม่ให้จับเป็นรอยมือ
        ขัดแต่งด้วกระดาษทรายและใช้สีน้ำมันหรือสติกเกอร์ลายไม้แต่ง เมื่อแต่งขอบไม้เรียบร้อย เอาน้ำมันก๊าดมาเช็ดถูรูปให้เงา

ข้อควรระวังในการเคลือบ
1.ตัวทำแข็งที่ผสมเรซิน ถ้าเปื้อนมือควรใช้สบู่ล้างดีกว่าผงซักฝอกเพราะเคมีตัวนี้มีอันตราย เป็นกรดแข็งชนิดหนึ่งจะกัดมือและแสบมือ
2.ภาพที่เป็นสิ่งพิมพ์ต้องทาน้ำยากันซึมเสียก่อน ทาหลังจากติดรูปบนไม้ แล้วรอให้แห้งสนิทประมาณ 30 นาที (ควรทา 2 ครั้ง)
        จึงจะเคลือบเรซินได้ (น้ำยากันซึมให้ทาเฉพาะบริเวณรูปเท่านั้น)
3.น้ำยาเรซินมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 เดือนไม่ควรทิ้งไว้ในอากาศร้อนจัดจะทำให้เสื่อมเร็ว เก็บรักษาไว้ในที่ทึบแสง
4.การผสมทำแข็งลงในน้ำยาเรซิน ให้สังเกตอากาศขณะที่ทำงานด้วย ถ้าอากาศร้อน ให้ลดตัวทำแข็ง อากาศเย็น ให้เพื่มขึ้นเล็กน้อย
5.เฉพาะรูปถ่ายที่เป็นกระดาษอัดรูป (ยกเว้นกระดาษพิมพ์ต่างๆ)ถ้าเปื้อนกาวลาเท็กซ์หรือรอยนิ้วบนรูป ให้ใช้สำลีชุบทินเนอร์เช็ด (ไมควรใช้น้ำเปล่า)
         แต่ต้องระวังไม่ให้ทินเนอร์ถูกลายไม้ จะทำให้ลายไม้ลอกทันที

เงินลงทุน : ประมาณ 30,000 บาท อุปกรณ์หลักๆ ประกอบด้วย
-  ไม้อัด หรือไม้ MDF ความหนา 9 มิลลิเมตร  ราคา 210 บาทต่อแผ่น ขนาด 3  มิลลิเมตร ราคา    90 บาท
-  กระดาษลายไม้มีหลายแบบหลายราคาเฉลี่ยแล้ว ตกเมตรละ 20 กว่าบาท หรืออาจใช้พีวีซีลายไม้ ซึ่งสวยงามและคงทนกว่า ราคา 40 บาท
-  น้ำยาโพลีเอสเตอร์เรซิ่น กิโลกรัมละ 70 บาท
-  ตัวเร่งปฏิกริยา กิโลกรัมละ 230 บาท
-  ฟิล์มเคลือบมีหลายแบบหลายราคา ทั้งแบบเงาและแบบด้าน เฉลี่ยแล้วประมาณ 60-70 บาท  ไปจนถึง 100 กว่าบาท ต่อเมตร
           นอกจากนั้นก็เป็นพวกวัตถุดิบเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น กระดาษอัด กระดาษลายหน้าพีวีซีข้าง ไม้บรรทัดเหล็ก คัดเตอร์ กระดาษกาว กระดาษลายหลัง ขาตั้ง
           กระจก หูแขวน รูปภาพ น็อต ติดขาตั้งและหูแขวน ไขควง ดิ้นทอง กาวลาเท็กซ์  เลื่อยไฟฟ้า  ตะไบแบน(เครื่องเจียร์) ลูกกลิ้ง น้ำยากันซึม กระดาษทราย
           ทินเนอร์ น้ำมันสน ถ้วยพลาสติก สว่านเจาะรู ปากกาเคมี ลบไม่ได้(ตราม้า) ไม้ไอศกรีม กาวน้ำหรือสเปรย์-แล็คเกอร์

แหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ :
1. ร้านศึกษาภัณฑ์พานิชย์
2. องค์การค้าคุรุสภา
3. บริษัท ยู พี เรซิ่น จำกัด เลขที่ 265/253-260 ซอยสาธุประดิษฐ์ 15 (ทวีวัฒนา)
            แขวง  ช่องนนทรี เขต   ยานนาวา กรุงเทพมหานคร โทร 0-2211-8474 ถึง 5
4. ร้านค้าจำหน่ายอุปกรณ์การประดิษฐ์ทั่วไป
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs