เจาะลึก indicator ยอดฮิต ตอนที่ 5 "Stochastic Oscillator"

เริ่มโดย admin, เมษายน 15, 2015, 11:57:26 AM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

admin

เจาะลึก indicator ยอดฮิต ตอนที่ 5 "Stochastic Oscillator"

Stochastic Oscillator (STO.)

Dr. George C. Lane เป็นผู้คิดค้นและเผยแพร่ในช่วงปี ค.ศ. 1950 โดย Stochastic เป็น momentum indicator โดยแสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบว่าราคาปิดในช่วงเวลาที่สนใจนั้นสูงหรือต่ำ Stochastic นั้นไม่ได้เป็น indicator ที่เคลื่อนไหวตามแนวโน้ม, ราคา หรือ ปริมาณการซื้อขายแต่อย่างใด แต่ Stochastic นั้นเคลื่อนไหวตาม momentum ของราคา จากคำกล่าวที่ว่า "การเปลี่ยนทิศทางของ momentum จะเกิดขึ้นก่อน การเปลี่ยนทิศทางของ ราคา" เช่นใน Bullish และ
Bearish Divergence จะเห็นได้ว่า Stochastic นำไปใช้แสดงถึงการกลับตัวของ

ราคาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่ง Lane นั้นนำ Stochastic Oscillator นั้นไปใช้ในการคาดการณ์การเกิดขึ้นของแนวโน้มในอนาคต

โดยสูตรคำนวณและตัวอย่างการคำนวณมีดังนี้ (ท่านใดไม่สนใจสามารถข้ามไปดูการใช้งานได้เลยครับ)



ตัวอย่างการคำนวณ indicator STO.
ตัวอย่างการคำนวณใช้ข้อมูลในอดีต 9 วันในการคำนวณซึ่งค่าที่ได้นั้นจะเป็นแบบ Fast STO. 9 วัน


สูตรของ Lane นั้น ถ้าคำนวณแบบธรรมดาทั่วไปจะได้ออกมาเป็น Fast Stochastic Oscillator ซึ่งจะมีความผันผวนมาก จึงได้มีการปรับให้ค่าที่ได้มีความเรียบมากขึ้นเป็น Slow Stochastic Osciallator โดยการนำ Fast STO. มาเฉลี่ย 3 วัน แต่ Stochastic Oscillator ในที่นี้เราจะนำ  Slow STO. มาเฉลี่ยอีก เพื่อให้ได้ค่าที่มีความเรียบมากยิ่งขึ้น ซึ่งค่าที่นำมาเฉลี่ยนั้นเราจะเรียกว่า %K Slowing (n) ถ้า n เป็น 1 วัน จะเทียบเท่ากับ Fast STO. แต่ถ้า n เป็น 3 วัน จะเทียบเท่า STO. ที่เรากล่าวถึง

การใช้งาน และ การตีความ

การใช้งาน : บ่งบอกถึง momentum ของราคาหุ้น, Overbought – Oversold, บ่งบอกสัญญาณซื้อ – ขาย 


1. Predict Momentum Reversal (ทำนายการกลับตัวของ momentum)

o   Bearish Divergence [เส้นสีฟ้า คือ เส้น %K]



o   Bullish Divergence [เส้นสีฟ้า คือ เส้น %K]



2.Overbought – Oversold identification

Overbought หมายถึง สภาวะที่เกิดการซื้อมากเกินไป (มีอุปสงค์ > อุปทาน) ตามหลักการนั้น เป็นสภาวะที่ราคามีโอกาสปรับตัวลดลงจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานดังกล่าว โดยสัญญาณของ Stochastic จะบ่งชี้ถึงภาวะ Overbought เมื่อ %K > 80 เป็นต้นไป และจะเข้าสู่ภาวะ Super overbought เมื่อ %K > 90




Oversold หมายถึง สภาวะที่เกิดการขายมากเกินไป (มีอุปสงค์ < อุปทาน) ตามหลักการนั้น เป็นสภาวะที่ราคามีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานดังกล่าว โดยสัญญาณของ Stochastic จะบ่งชี้ถึงภาวะ Oversold เมื่อ %K < 20 เป็นต้นไป และจะเข้าสู่ภาวะ Super oversold เมื่อ %K < 10




3. Entry & Exit identification (บ่งบอกถึงจุดซื้อ – จุดขาย)

การบ่งบอกจุดซื้อจุดขายจะต้องนำ %D มาใช้ในการบอกจุดด้วย ซึ่งอย่างที่บอกไปแล้วว่า %D นั้นได้มาจากการเฉลี่ย %K 3 วัน (เฉลี่ยแบบ Simple Moving Average) เราจึงเห็นว่า STO. มี 2 เส้น คือ %K และ %D โดยสัญญาณซื้อ – ขาย แบ่งได้ 3 แบบ

3.1    ซื้อ : เมื่อ %K ตกลงเข้าในเขต Oversold และดีดกลับขึ้นมา > 20 ได้
ขาย : เมื่อ %K เข้าในเขต Overbought และ ตกกลับลงมา < 80 

          3.2    ซื้อ : เมื่อ %K ตัดขึ้นเหนือ %D
                   ขาย : เมื่อ %K ตัดลงต่ำกว่า %D

          3.3    ดูการเกิด Bullish & Bearish Divergence ในการหาจังหวะซื้อขาย เพราะ อย่างที่กล่าวไว้ว่า "การเปลี่ยนทิศทางของ momentum จะเกิดขึ้นก่อน การเปลี่ยนทิศทางของ ราคา" สามารถนำมาหาจังหวะเข้าซื้อและขายออกได้ซึ่งต้องฝึกใช้ให้เกิดความชำนาญพอสมควร



Tips & Trick
เนื่องจาก Stochastic Oscillator เป็น indicator ประเภท  momentum oscillator ดังนั้นสัญญาณซื้อ-ขายที่แม่นยำ จึงใช้ได้ดีกับตลาดที่ไม่เกิดแนวโน้ม (Sideway) เพราะตลาดจะแกว่งตัวขึ้นลงไปมา
ดังนั้นในตลาดขาขึ้น (Uptrend) Stochastic จึงให้สัญญาณซื้อได้ดีกว่าสัญญาณขาย เพราะหากขายไปหุ้นมักจะขึ้นต่อ เนื่องจากมันแค่ย่อตัวลงมาเท่านั้น momentum ไม่ได้เปลี่ยนทิศทางแต่อย่างใดและตลาดมีลักษณะแกว่งตัวเป็นขาขึ้น
ในตลาดขาลง (Downtrend) Stochastic จะให้สัญญาณขายที่แม่นยำกว่าสัญญาณซื้อ เพราะ หากซื้อจะทำให้ขาดทุนได้ เนื่องจาก ตลาดแกว่งตัวลง momentum ยังอยู่ในทิศทางขาลง
สัญญาณ Bullish & Bearish Divergence นั้นจะเพิ่มความแม่นยำให้กับผู้ใช้เครื่องมือได้ แต่ต้องดูแนวโน้มประกอบในการตัดสินใจ หากเป็นขาลงที่แข็งแกร่ง การเกิด Bullish Divergence นั้น จะต้องรีบเข้าและรีบออกจากตลาด (โดยเฉลี่ย 3-5 วัน) เพราะ แนวต้านของแนวโน้มนั้นจะมีความแข็งแรง ราคาเพียงแค่เกิดการพักฐานในขาลงเท่านั้น

      เป็นยังไงกันบ้างครับ จุใจนักลงทุนกันบ้างไหมครับ กับความสามารถของเจ้า STO. indicator  ถือว่าค่อนข้างมีความสามารถมากเลยทีเดียว (รองจาก RSI.) ถ้าเทียบกับ indicator ตัวอื่นๆในซี่รี่ย์เจาะลึก indicator ยอดฮิตใน Blog Investmentory นี้ หวังว่านักลงทุนทุกท่านจะเข้าใจและสามารถนำมันไปใช้ในการสร้างผลตอบแทนกันได้นะครับ สำหรับในตอนหน้าจะเป็น indicator ยอดฮิตตัวไหนขออุบไว้ก่อน นักลงทุนจะได้ลุ้นกันหน่อย (คงจะชินกันแล้วเพราะลุ้นหุ้นกันอยู่เป็นประจำ) โอเคครับสำหรับบทความ เจาะลึก indicator ยอดฮิต ตอนที่ 5 ก็จบลงเพียงเท่านี้ ขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุนนะคร๊าบบบ ^_____^

หมายเหตุ : สำหรับนักลงทุนท่านใดต้องการจะศึกษาเทคนิคและกลยุทธ์การเข้าซื้อตามแนวโน้ม (Trend Following) ให้มากขึ้น สามารถเข้าไปดูผลงานหนังสือของผมเพิ่มเติมได้ ที่นี่ครับ

พิเศษสำหรับสมาชิกทุกท่าน : สัมมนาหุ้นและอนุพันธุ์ ออนไลน์ กับ Investmentory  เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง สนใจคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ครับ 
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs