1. ซีเนอร์ไดโอดแถบสีแบบ 2 แถบสี
การอ่านค่าเหมือนกับการอ่านค่าแถบสีของความต้านทาน คือนำค่าแถบสีทั้ง 2 แถบมาคิด โดยมีหน่วยเป็นโวลท์ ( V )
ตัวอย่าง จากรูปซีเนอร์ไดโอดมีแถบสี สีส้ม, สีน้ำเงิน ซึ่งอ่านค่าได้เป็น 36 V
2.ซีเนอร์ไดโอดแถบสีแบบ 2 แถบสี และมีสีคาดที่ขา 1 แถบสี
การอ่านค่า แถบสี 2 แถบแรก กระทำเช่นเดียวกับการอ่านแถบสีของซีเนอร์ไดโอดแบบ 2 แถบสี ส่วนสีคาดที่ขาแสดงซีรี่ส์เพื่อแสดงค่าแรงดันคลาดเคลื่อน โดยมีค่าดังตาราง
ตัวอย่าง
จาก รูปซีเนอร์ไดโอดมีแถบสี สีส้ม, สีน้ำเงิน ซึ่งอ่านค่าได้เป็น 36 V และมีสีคาดที่ขาเป็นสีแดง หมายถึงค่าแรงดันต้องบวกค่าแรงดันคลาดเคลื่อนอีก 1 V ซึ่งจะได้ค่าที่แท้จริงคือ 36-1 = 35 V
3. ซีเนอร์ไดโอดแถบสีแบบ 3 แถบสี และมีสีคาดที่ขา 1 แถบสี
การอ่านค่าแถบสี 2 แถบแรก กระทำเช่นเดียวกับการอ่านแถบสีของซีเนอร์ไดโอดแบบ 2 แถบสี แต่ค่าที่ได้จะต้องหารด้วย 10
เพราะค่าของซีเนอร์ไดโอด แบบนี้จะมีค่าน้อยกว่า 10V
ส่วนแถบสีที่ 3 บอกกำลังวัตต์ซึ่งสามารถใช้รหัสแถบสีของความต้านทานเทียบได้ มีหน่วยเป็นวัตต์ ( W )
ส่วนสีคาดที่ขาแสดงซีรี่ส์เพื่อแสดงค่าแรงดันคลาดเคลื่อน โดยมีค่าดังตาราง
ตัวอย่าง
จาก รูปซีเนอร์ไดโอดมีแถบสี สีน้ำเงิน , สีแดง ซึ่งอ่านค่าได้เป็น 6.2 V ( 62/10 ) และมีสีที่สามคือ สีแดง หมายถึงค่ากำลังวัตต์ 2 W และมีสีคาดที่ขาเป็นสีแดง หมายถึงค่าแรงดันต้องบวกค่าแรงดันคลาดเคลื่อนอีก 0.1 V ซึ่งจะได้ค่าที่แท้จริงคือ 6.2+0.1 = 3.6 V
เบอร์ซีเนอร์ไดโอด ในวงจรอีเลคทรอนิคส์ทั่วไป
แค่เลือกค่าแรงดันใช้งานให้ตรงกับความต้องการ
1N5225 แรงดันที่ 3V
1N5226 แรงดันที่ 3.3V
1N5227 แรงดันที่ 3.6V
1N5228 แรงดันที่ 3.9V
1N5229 แรงดันที่ 4.3V
1N5230 แรงดันที่ 4.7V
1N5231 แรงดันที่ 5.1V
1N5232 แรงดันที่ 5.6V
1N5233 แรงดันที่ 6V
1N5234 แรงดันที่ 6.2V
1N5235 แรงดันที่ 6.8V
1N5236 แรงดันที่ 7.5V
1N5239 แรงดันที่ 9.1V
1N5240 แรงดันที่ 10V
1N5242 แรงดันที่ 12V
1N5243 แรงดันที่ 13V
1N5244 แรงดันที่ 14V
1N5245 แรงดันที่ 15V
ขอบคุณสาระดีๆจาก
http://www.basiclite.com
ลิงค์หัวข้อ: http://wintesla2003.com/topic/113754