น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

เริ่มโดย admin, ตุลาคม 08, 2013, 08:56:18 AM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

admin

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง

สามารถนำไปประกอบอาหารได้ เช่น ใส่ในสลัดผัก หรือแทนน้ำมัน ผัด ทอด
ผสมกับข้าวที่หุงเสร็จแล้ว เป็น "ข้าวกะทิ" แสนอร่อย สำหรับมื้อพิเศษ
ราดบนไอศกรีม หรือน้ำแข็งไสต่างๆ
ผสมหรือชงกับเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น โกโก้ ชา กาแฟร้อน
ใช้แทนเนยหรือเนยเทียม ในสูตรอาหารได้ตามต้องการ
ใช้หมักผมก่อนที่จะสระผมหรือหลังสระผมได้ตามความสะดวก
ใช้ทาผิวกายและส่วนที่แห้งกร้าน เพื่อบำรุงผิวและป้องกัน UV (Sun Burn)
ใช้เช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอาง เหมือนกับผลิตภัณฑ์โทนเนอร์
ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งกรดลอริค (Lauric Acid) ในน้ำมันมะพร้าวเป็นสารตัวเดียวกับที่มีอยู่ในน้ำนมแม่ที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารก
ช่วยเสริมความงาม เช่น ลดความอ้วนทำให้รูปร่างสมส่วน ผิวพรรณงาม เส้นผมงดงาม
ช่วยรักษาสุขภาพปากและฟัน (Oil Pulling Therapy)
ป้องกันและรักษาโรคไม่ติดเชื้อ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคของต่อมธัยรอยด์ ฯลฯ
ป้องกันและรักษาโรคติดเชื้อ เช่น สร้างภูมิคุ้มกัน ฆ่าเชื้อโรค ทั้งที่เป็นแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตซัว และแม้กระทั้งไวรัส เช่น โรคสเก็ดเงิน, โรคเริม, งูสวัด ฯลฯ
ทำไมการทานน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นผลดีต่อสุขภาพ

ความอิ่มตัว : เนื่องจาก น้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัวโดยที่พันธะ (bond) ที่จับกันระหว่างอะตอมของคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยว (single bond) ทำให้มีความเสถียรหรืออยู่ตัว (stability) สูงจึงไม่ถูกอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนเข้าไปแทรก ซึ่งเรียกว่า hydrogenation และ oxidation ได้ง่าย ๆ และ ไม่มีกลิ่นหืนเหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัวโดยเฉพาะพวกที่เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัว เชิงซ้อน (polyunsaturated oil) ซึ่งมีพันธะคู่หลายตำแหน่งเมื่อถูกความร้อนสูงจะทำให้เกิดเป็นเกิดเป็น trans fatty acids ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดทำให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายมากมาย เช่นทำลาย เยื่อหุ้มเซลล์ (membrane) อันเป็นผลทำให้เซลล์อ่อนแอจนเชื้อโรคและสารพิษเข้าไปได้สะดวก ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เปลี่ยนแปลงกลไกของร่างกายในการขจัดคอเลสเตอรอลโดยการขัดขวางการเปลี่ยนไป เป็นพลังงานในตับ จึงทำให้มีปริมาณคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นในกระแสโลหิต ลดปริมาณและคุณภาพของนมน้ำเหลืองของมารดา เพิ่มโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ลดปริมาณของฮอร์โมนเทสโตสเตอโรล ในเพศชาย เป็นต้น
กรดไขมันขนาดกลาง : การที่กรดไขมันในน้ำมันมะพร้าวที่โมเลกุลขนาดกลาง มีส่วนอย่างมากที่ทำให้มีคุณสมบัติเป็นเลิศ
เปลี่ยนเป็นพลังงานได้อย่างรวดเร็ว : เนื่องจากส่วนใหญ่ของกรดไขมันของน้ำมันมะพร้าวมีโมเลกุลขนาดกลาง (C8 ? C14) เมื่อเราบริโภคเข้าไปมันจะผ่านจากกระเพาะอาหารไปยังลำไส้ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานที่ตับอย่างรวดเร็ว (ภายในหนึ่งชั่วโมง) ทำให้ไม่มีไขมันเหลือสะสมในร่างกาย
เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม : เพราะเมื่อทานน้ำมันมะพร้าวเข้าไปมีผลทำให้เกิดความร้อนสูง (thermogenesis) โดยไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานเร็วขึ้น คล้ายกับบุคคลประเภทไฮเปอร์ไทรอยด์ (hyperthyroid) ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานในอัตราที่สูงกว่าคนธรรมดา บุคคลพวกนี้จึงใช้พลังงานมาก ทำให้เป็นคนกระฉับกระเฉง (active) และไม่อ้วน เพราะน้ำมันมะพร้าวที่บริโภคเข้าไปถูกเผาผลาญเป็นพลังงานหมดไม่สะสมเป็น ไขมันในร่างกาย
ช่วยลดน้ำหนัก : จากผลของการเกิดความร้อนสูงในร่างกาย โดยการไปนำไขมันที่ร่างกายสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ออกมาใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงช่วยลดความอ้วนได้ จนมีคำที่ว่า "Eat Fat ? Look Thin"
กรดลอริกและโมโนลอริก : น้ำมัน มะพร้าวมีกรดลอริก (lauric acid) อยู่ประมาณ 50 % กรดนี้ มีส่วนที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวดีเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ เพราะมีความสามารถพิเศษ คือ สร้างภูมิคุ้มกัน : เมื่อเราบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในร่างกาย กรดลอริกในน้ำมันมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ (monoglyceride) ที่มีชื่อว่า โมโนลอริน (monolaurin) ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่อยู่ในน้ำนมมารดา ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกในระยะ 6 เดือนแรก ที่ร่างกายยังไม่สร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค ฆ่าเชื้อโรค : โมโนลอรินเป็นสารปฏิชีวนะที่ทำลายเชื้อโรคทุกชนิด ที่ดีกว่ายาปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยีสต์ โปรโตซัว และไวรัส ไวรัสบางชนิด ที่ยาปฏิชีวนะทั่วไป ทำลายไม่ได้เนื่องจากมีเกราะที่เป็นไขมันห่อหุ้ม (lipid-coated membrane) แต่เกราะนี้ก็จะถูกละลายโดยน้ำมันมะพร้าวเพื่อเปิดโอกาสให้โมโนลอรินเข้าไป ฆ่าเชื้อโรค สารปฏิชีวนะในน้ำมันมะพร้าวไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ และจะถูกสร้างขึ้นในร่างกายของมนุษย์เมื่อบริโภคอาหารที่มีกรดลอริก อีกทั้งไม่เป็นอันตรายต่อแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้
ทำไมจึงควรเลือกใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันผัดทอดอาหารทั่วไป

เพราะน้ำมันมะพร้าวเป็น น้ำมันที่มีความอิ่มตัวสูง (ไขมันอิ่มตัว 92%,ไขมันไม่อิ่มตัว 8%) จะมีคุณสมบัติคงสภาพและทนต่อความร้อนได้ดี เมื่อโดนความร้อน หรือความร้อนสูงที่ใช้ในการทอด โมเลกุลก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากไม่ยอมให้ ไฮโดรเจน หรือออกซิเจน เข้าไปจับตัวเพิ่ม (ขบวนการ OXIDATION ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ) แต่น้ำมันที่ไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง แขนของโมเลกุลยังมีช่องว่างอยู่ ไฮโดรเจน หรือ ออกซิเจน จึงเข้าไปจับตัวได้ง่าย เกิดการ OXIDATION เกิดเป็นอนุมูลอิสระ และทำให้น้ำมันเสียได้เร็ว

สาเหตุที่ทำให้น้ำมันเสียมีอยู่ 5 วิธี

แสงสว่าง
ความร้อน
ออกซิเจน
ไฮโดรจิเนต (hydrogenation) การเติมไฮโดรเจนเข้าไป เพื่อเปลี่ยนจากไขมันไม่อิ่มตัวเป็นอิ่มตัว ไขมันชนิดนี้อันตรายต่อสุขภาพมาก เรียกว่า TRANS FAT
โฮโมจิไนซ์ (Homogenize) การทำ ให้ไขมันแตกตัว
ในขบวนการผลิตน้ำมันผ่านกรรมวิธี โมเลกุลของน้ำมันได้ถูกรบกวนและเกิดเป็นอนุมูลอิสระไปแล้วในระดับหนึ่ง และถ้านำมาใช้ซ้ำอีกขบวนการเกิด TRANS FAT จะเกิดขึ้นได้สูงมาก

ปัจจุบันคนไทยมีความรู้สึกที่ดีมากกับน้ำมันมะกอก (VIRGIN OLIVE OIL) ให้ค่านิยมว่าเป็นน้ำมันสุขภาพ และนำมาใช้ปรุงอาหารทุกชนิดในครัว ถึงแม้ว่าน้ำมันมะกอกจะมีกรดโอเลอิกที่มีประโยชน์มากต่อร่างกาย แต่กลับมีปริมาณไขมันอิ่มตัวเพียง 14% ปริมาณไขมันไม่อิ่มตัว 1 ตำแหน่ง 77% และปริมาณไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง 9% ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้น้ำมันมะกอกไม่มีความคงทนต่อความร้อน จึงควรใช้ประกอบอาหาร เช่น น้ำสลัด หรือ การผัดอาหารที่ใช้น้ำมันไม่มาก และไม่ควรใช้ในความร้อนสูง

ดังนั้นถ้าต้องการทอดอาหารหรือปรุงอาหารโดยใช้ความร้อนสูง จึงควรใช้น้ำมันที่ผลิตโดยวิธีบีบเย็น (COLD PRESSED) หรือสกัดเย็น (cold extraction) และมีความอิ่มตัวสูงเท่านั้น เนื่องจากมีคุณสมบัติทนต่ออากาศ แสง และความร้อนได้ดี ส่วนน้ำมันพืช COLD PRESSED ชนิดอื่นๆ เมื่อเปิดใช้แล้วควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อป้องกันการเกิด OXIDATION จากอากาศและแสง

น้ำมันมะพร้าวเป็นโทษกับร่างกายหรือไม่?

วงการแพทย์และนักโภชนาการสมัยใหม่ค้นพบแล้วว่า น้ำมันมะพร้าวไม่เป็นโทษกับร่างกาย อันที่จริงสิ่งที่ให้โทษกับร่างกายคือน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีหรือน้ำมันพืชที่เราใช้ปรุงอาหารอยู่ในปัจจุบัน ในทางกลับกันน้ำมันมะพร้าวกลับช่วยป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง ไม่ทำให้อ้วนเพราะเผาผลาญได้เร็วจึงไม่สะสมในร่างกาย และไม่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้น และด้วยความที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวจึงช่วยควบคุมการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในร่างกาย ช่วยลดอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณดี ไม่เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย น้ำมันมะพร้าวไม่เป็นโทษแม้แต่กับเด็กเล็ก เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดลอริค ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบได้มากในน้ำนมแม่ในช่วงอายุ 6 เดือน

ทำไมรับประทานน้ำมันมะพร้าวแล้วจึงมีอาการระบายท้อง หรือท้องเสีย

พูดง่ายๆ ก็คือ ในผู้ที่ไม่เคยทานน้ำมันมะพร้าวมาก่อน น้ำมันจะไปทำการ detox ลำไส้ให้สะอาดขึ้นโดยไม่ทำลายแบคทีเรียที่เป็นประโบชน์ต่อลำไส้ ทำให้สิ่งที่ตกค้างในลำไส้ออกมา ร่างกายจึงมีการขับถ่ายของเสียออกมาพร้องกับอุจจาระ ในเชิงวิชาการกล่าวคือ ในลำไส้ใหญ่ของเราจะอุดมไปด้วย PROBIOTIC แบคทีเรียชนิดดีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่ควบคุมเชื้อยีสต์ และเชื้อรา (ซึ่งเป็นสาเหตุของลำไส้ใหญ่อักเสบ เชื้อราในช่องคลอด) เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ซึ่งมีมากใน ผัก ผลไม้ PROBIOTIC จะใช้เอนไซม์ช่วยย่อย สิ่งที่ได้หลังการย่อย จะได้เป็นกรดไขมันสายสั้น (SCFAs) และกรดไขมันสายปานกลาง (MCFAs) ในสภาวะที่อุดมไปด้วยกรดไขมันนี้เป็นสภาวะที่เอื้อให้ PROBIOTIC เพิ่มจำนวนขึ้นมากอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การย่อยในลำไส้ใหญ่มีประสิทธิภาพสูง จึงขับถ่ายเร็วขึ้น และขับของเสียออกมาอย่างสะดวกสบายท้อง

ทั้งนี้น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดไขมันสายปานกลาง (MCFAs) จึงมีผลต่อ PROBIOTIC ทันทีที่น้ำมันเดินทางไปถึงลำไส้ใหญ่ ดังนั้นหลังจากรับประทานน้ำมันมะพร้าวไปได้ไม่นาน จะรู้สึกเป็นการกระตุ้นลำไส้ให้ขับถ่าย บวกกับคุณสมบัติความลื่นของไขมันจึงช่วยส่งเสริมให้การขับถ่าย ไหลลื่น สะดวดรวดเร็ว

การขับถ่ายที่ถ่ายท้องมากขึ้นหรือมีอาการท้องเสียร่วมด้วย คนส่วนใหญ่อาจจะกินเวลาประมาณ 1 ถึง 3 อาทิตย์ หรือบางคนอาจจะไม่เกิดอาการแบบนี้เลย ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละคน หลังจากนั้นร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ถ้าทานน้ำมันมะพร้าวในตอนเช้าซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายขับถ่ายปกติ จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาตี 5 ถึง 5 โมงเช้า อาจจะมีอาการอ่อนเพลียหรือหมดแรง คล้ายกับการกินยาระบาย ทางเราแนะนำให้เปลี่ยนเวลาในการทาน จากตอนเช้าเป็นตอนเย็นแทน

วิธีการรับประทานน้ำมันมะพร้าวที่ถูกวิธีต้องทำอย่างไร

วิธีรับประทานน้ำมันมะพร้าวที่ดีที่สุด คือ ทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง

(ขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ในระยะแรกที่เริ่มทานควรทานมื้อไหน ก็ควรจะทานมื้อนั้นไปตลอด เพราะให้ร่างกายปรับตัวและสมดุลก่อน)

เด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป วันละ 1-2 ช้อนชา

ผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุรับประทานวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ

กรณีพิเศษ สำหรับผู้ที่ร่างกายขาดสารอาหาร หรือผอมกว่าปกติ สามารถทานหลังอาหารได้ทันที เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกาย

คุณภาพของน้ำมันมะพร้าวที่ดี ดูได้จากอะไรบ้าง?

ทางเรามีวิธีง่ายๆ ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วยตนเองได้ ด้วยหลัก 4 ด. ดังนี้

ดู ความใส น้ำมันมะพร้าวที่ดี จะใสสะอาด มีสีขาวใสเหมือนน้ำ แต่อาจเปรียบเทียบคุณภาพความใสที่แตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่ได้อยู่ในขวดลักษณะเดียวกัน สีของพลาสติกหรือแก้ว อาจทำให้มีอิทธิพลกับสีได้บ้าง
ดม กลิ่นของน้ำมันมะพร้าว ต้องมีกลิ่นหอมอ่อนๆของมะพร้าว ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน หรือเหม็นเปรี้ยว
ปกติมะพร้าวที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำน้ำมัน มี 2 แบบ คือ มะพร้าวกะทิ และมะพร้าวพันธุ์น้ำหอม
ซึ่งจะให้กลิ่นเวลารับประทานนั้นแตกต่างกัน กล่าวคือ มะพร้าวกะทิ จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆเหมือนกะทิ แต่มะพร้าวพันธุ์น้ำหอมจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆคล้ายขนมกะทิ ซึ่ง Native coconut oil ของเราก็ผลิตจากน้ำมันมะพร้าวน้ำหอมเช่นกัน
ดื่ม แล้วรู้สึกเบา ลื่นคอ ทานง่าย ไม่แสบคอ ถ้ารู้สึกเลี่ยนหรือรู้สึกเหมือนมีน้ำมันติดอยู่ที่คอ สามารถแก้อาการเหล่านี้ โดยการทานน้ำอุ่นตามลงไปประมาณครึ่ง-หนึ่งแก้ว
เดือน หมายถึง ระยะเวลาในการเก็บรักษา น้ำมันมะพร้าวที่มีคุณภาพดี เมื่อตั้งทิ้งไว้นานๆสีและกลิ่นจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษาโดยตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องปกติ หลีกเลี่ยงจากแสงแดด และปิดฝาให้สนิททุกครั้งหลังจากเปิดใช้งาน
นอกจากการดูคุณภาพของน้ำมันมะพร้าวเบื้องต้น ด้วยหลัก 4 ด. แล้ว เราสามารถดูได้ได้รับการรับรองและเลขสารแบบ อย. บนฉลากของผลิตภัณฑ์เป็นตัวบ่งชี้ถึงมาตรฐานของการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงโรงงานผลิตที่มีมาตรฐานซึ่งต้องได้รับการตรวจสอบ ดูแลจาก อ.ย. ทุกๆ 6 เดือนในแง่ของความสะอาด ปลอดภัย รวมถึงมาตรฐานการผลิตที่ต้องได้รับรองด้วยระบบ GMP และ HACCP

การที่น้ำมันมะพร้าวเป็นไขหมายถึงอะไรและมีผลเสียต่อร่างกายหรือไม่

เป็นความเชื่อผิดๆ ที่สั่งสมกันมาพอควร กับความเป็นไขของน้ำมัน ซึ่งในความเป็นจริงทางวิชาการนั้น น้ำมันและไขมันนั้นมีความแตกต่างกัน แต่น้ำมันและไขมันมักจะถูกใช้แทนที่กันเสมอ

น้ำมันมีสถานะเป็นของเหลว ส่วนไขมันมีสถานะเป็นของแข็ง น้ำมันทุกชนิด สามารถกลายเป็นไขได้ แต่จะเป็นไข ณ อุณหภูมิที่แตกต่างกัน น้ำมันมะพร้าวเป็นไข จะเป็นไขที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสหรือในพื้นที่ที่มีความเย็น ไขที่เกิดขึ้นจะที่มีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น ความเป็นไขของน้ำมันมะพร้าวไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ของน้ำมันที่เสีย แต่เป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพของน้ำมันที่ดี เพราะคุณมั่นใจได้ว่า ไม่มีการใส่สารเคมีหรือตัวแคตตะไลท์ใดๆ ลงไป ทำให้ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและปลอดภัยในการบริโภค

วิธีแก้ง่ายๆ เมื่อน้ำมันกลายเป็นไข

นำไปไว้ในรถ รอประมาณ 30- 60 นาที ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด
นำขวดน้ำมันไปวางที่ที่มีอุณหภูมิเทียบเท่าอุณหภูมิห้อง คือ 25 องศาเซลเซียส หรือวางไว้ในบริเวณที่ใกล้แสงแดด (ไม่ควรตากแดด เพราะหากลืมทิ้งไว้เป็นเวลานาน ความร้อนที่สะสมอาจมีผลกับภาชนะบรรจุ) หลังจากนั้นน้ำมันจะคืนตัวเหมือนเดิม
นำขวดน้ำมันใส่ภาชนะหรือถุงร้อนแล้วแช่ในน้ำอุ่น ถึงแม้น้ำมันมะพร้าวจะเป็นผลิตผลของพืชเมืองร้อน แต่กลับเป็นที่นิยมของผู้คนเป็นจำนวนมากที่อยู่ในเขตหนาวหรือยุโรป ความเป็นไขของน้ำมันมะพร้าวจึงถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อมแบบนั้น ภาชนะที่ใช้ให้เหมาะสมจึงใช้เป็นกระปุกปากกว้างเหมือนขวดแยม เพื่อใช้ตักชิ้นไขของน้ำมันแทนการเท
น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นมีอายุการใช้งานนานเท่าไร

ปกติน้ำมันมะพร้าวที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตด้วยวิธีการสกัดเย็น จะมีอายุ 2 ปี หรือ SHELF LIFE (อายุของผลิตภัณฑ์) ไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่ผลิต น้ำมันมะพร้าว Native oil ของเราผลิตด้วยวิธีการสกัดเย็นด้วย Centifuge 3 ขั้นตอน และ winterlization technology (การทำให้บริสุทธิ์ด้วยความเย็นจัด) ทำให้น้ำมันของเรามีความเสถียรสูง (ความอยู่ตัว) ทำให้ตัวน้ำมันมีคุณสมบัติเป็นสาร ANTIOXIDANTS จึงป้องกันการเสียจากความชื้นได้นาน ดังนั้นหลังเปิดใช้ควรเก็บให้ห่างจากการความชื้นและแสงแดด จะทำให้ผลิตภัณ์มีอายุการใช้งานได้นานตามระยะเวลาของการเก็บรักษา คือ 2 ปี

การทำ Oil Pulling (ออยล์ พูลลิ่ง) คืออะไร

Oil Pulling (ออยล์ พูลลิ่ง) หมายถึง การบำบัดโดยการเอาของเหลวเข้าไปในปาก แล้วเคลื่อนขยับเขยื้อนของเหลวกลับไปกลับมาในช่องปาก

"กระบวนการที่สำคัญของ Oil Pulling คือ การที่น้ำมันมะพร้าวมีสภาพเป็นไขมันที่มีความเหมือนกันกับไขมันที่เป็นเยื่อหุ้มตัวของเชื้อโรค ทำให้เชื้อโรคเหล่านั้นดูดน้ำมันมะพร้าวเข้าไปที่เยื่อหุ้มตัว แต่น้ำมันมะพร้าวกลับไปละลายเยื่อหุ้มตัวนี้ แล้วปล่อยกรดไขมันขนาดกลางที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อเข้าไปทำลายเชื้อโรค"

วิธีการทำ Oil Pulling คือ การใช้น้ำมันมะพร้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ กลั้วกลอกน้ำมันให้ผ่านพ้นไปมาทั่วปาก โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที เมื่อเราเคลื่อนไหวน้ำมันอยู่ในปากสักพัก (ประมาณนาทีที่ 15) จะรู้สึกว่าน้ำมันนั้นเบาบางลง ไม่หนืด มีลักษณะคล้ายน้ำ สีขาวขุ่น มีฟองอากาศปะปนอยู่ พอครบนาทีที่ 20 แล้ว หลังจากนั้นบ้วนทิ้งแล้วจึงแปรงฟัน

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการทำ Oil Pulling คือ หลังตื่นนอน ขณะที่ช่วงท้องว่างและก่อนรับประทานอาหารเช้า

งานวิจัยสนับสนุนในการทำ Oil Pulling อย่างได้ผล : จากการศึกษาของ Slanetz and Brown.(1949) พบว่า ปริมาณของแบคทีเรียในช่องปากมีการเปลี่ยนแปลงระหว่างวัน มีมากที่สุดในตอนเช้า ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน ปริมาณของแบคทีเรียจะเพิ่มสูงขึ้น เกือบเท่าตอนก่อนอาหารเช้า และลดลงมากที่สุดภายหลังรับประทานอาหารเย็น เมื่อยามหลับแบคทีเรียก็มีโอกาสกลับมาเพิ่มจำนวนขึ้นใหม่ โดยไม่มีสิ่งใดมารบกวน การกลั้วน้ำมันมะพร้าวในปาก จึงควรทำเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แบคทีเรียในช่องปากมีปริมาณมากที่สุด
บจก.สยามเอวีเอส
63 Moo 2 แพรกษาใหม่ เมือง สมุทรปราการ
นำเข้า-จำหน่าย เครื่องจักร cnc มือสองญี่ปุ่น
ติดต่อ คุณ ธนเดช  084-387-2401
EMAIL kiattub@gmail.com
คลิกลิ้งแอดไลน์ได้เลย Line id : boysiamavs
http://line.me/ti/p/~boysiamavs